ระบบการจัดการภาระงานสอนและงบประมาณ
ระบบการจัดการภาระงานสอนและงบประมาณ เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อจัดการภาระงานสอนของอาจารย์ในคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยระบบนี้จะช่วยให้การจัดการภาระงานสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสมากขึ้น
เจ้าของผลงาน
1. นายอนุชิต สิงห์คำ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์
คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2. น.ส.ชารินีย์ สวัสดิ์ตระกูล
นักวิชาการศึกษา
คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
บทนำ
ระบบนี้พัฒนาขึ้นตามหลักเกณฑ์แนบท้ายข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วยการกำหนดภาระงานของผู้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ พ.ศ. 2559 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 ต้องมีภาระงานขั้นต่ำสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง โดยภาระงานสอน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของภาระงานขั้นต่ำ เทียบเท่า 150 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา และเบิกจ่ายค่าตอบแทนการสอนเกินภาระงาน ตามประกาศคณะบริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยและ ประกาศคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และพนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาการ สังกัดคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. 2566
ปัญหาของระบบเดิม
ระบบงานเดิมใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการจัดการภาระงานสอน ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลและการจัดการภาระงานสอนที่ไม่เป็นระบบ ทำให้อาจารย์บางท่านมีชั่วโมงสอนเกินภาระงานขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ในขณะที่อาจารย์บางท่านมีจำนวนภาระงานไม่ถึงเกณฑ์
จุดเด่นของระบบใหม่
ระบบใหม่ช่วยแก้ไขปัญหาของระบบเดิม โดยมีการจัดเก็บข้อมูลชั่วโมงการสอนอย่างเป็นระบบ ทำให้ประธานหลักสูตรสามารถเชื่อมโยงข้อมูลของผู้สอนในทุกสาขาวิชาได้ การจัดการเกลี่ยภาระงานสอนจึงทำได้ง่าย และระบบมีการคำนวณค่าตอบแทนการสอนเกินภาระงาน ของผู้บริหาร หลักสูตรและอาจารย์พิเศษ เพื่อจะได้ทราบและตั้งงบประมาณไว้ล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์
1
จัดเก็บข้อมูลภาระงานสอน
ระบบนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อจัดเก็บข้อมูลและจัดการภาระงานสอนของอาจารย์ ตามหลักเกณฑ์แนบท้ายข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วยการกำหนดภาระงานของผู้ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ พ.ศ. 2559 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565
2
สร้างสารสนเทศด้านงบประมาณ
ระบบนี้สร้างสารสนเทศด้านงบประมาณเพื่อเตรียมใช้ในกรณีที่อาจารย์สอนเกินภาระงานให้ผู้บริหารทราบล่วงหน้า
วิธีการ / เครื่องมือ
ระบบนี้พัฒนาขึ้นจากภาษา asp.net ร่วมกับระบบฐานข้อมูล MySQL โดยจัดเก็บข้อมูลภาระงานสอนรายชั่วโมงของอาจารย์ทุกคน และแยกประเภทการจัดเก็บทั้งชั่วโมงการสอนบรรยาย ชั่วโมงการสอนปฏิบัติการ
แผนผังการทำงานของระบบ
ขั้นตอนการทำงานของระบบ
หลักเกณฑ์การคิดภาระงาน*
*หลักเกณฑ์การคิดภาระงานสอน ตามหลักเกณฑ์แนบท้ายข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าสอนเกินภาระงาน*
*การคำนวนค่าสอนเกินภาระงาน ตามประกาศคณะบริหารศาสตร์ เรื่องแนวปฏิบัติในการจ่ายเงินค่าตอบแทนการสอนเกินพนักงานสอนรับปริญญาตรี พ.ศ.2564
ผลการดำเนินงาน
ระบบนี้สามารถรวบรวมและประมวลผล จำนวนภาระงานสอน ที่สามารถใช้เบิกค่าตอบแทนได้ และ ไม่สามารถเบิกค่าตอบแทนได้ รวมถึง จำนวนงบประมาณที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการสอนเกินภาระงาน
การบันทึกข้อมูลลงระบบ
ตัวอย่างหน้าจอส่วนผู้ใช้งานสำหรับกรอกข้อมูลภาระงานสอน
ผลการทำงานของระบบ
แสดงภาระงานสอนของอาจารย์รายบุคคล
ผลการทำงานของระบบ
แสดงภาระงานสอนรวมของอาจารย์แต่ละหลักสูตร
ผลการทำงานของระบบ
แสดงจำนนภาระงานสอนทั้งหมด (เรียงลำกับจากมากไปหาน้อย)
ผลการทำงานของระบบ
แสดงสรุปชั่วโมงสอนรวมและจำนวนงบประมาณทั้งหมดทุกหลักสูตร
ผลการคำนวนค่าสอนเกินภาระงาน ตามประกาศคณะบริหารศาสตร์ เรื่องแนวปฏิบัติในการจ่ายเงินค่าตอบแทนการสอนเกินภาระงานสอนรับปริญญาตรี พ.ศ.2564 ในภาคการศึกษาที่ 1/2567
สรุป
ด้านการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ข้อมูลภาระงาสอนจะนำมาใช้เป็นข้อมูลประเมินผลการปฏิบัติราชการด้านการสอนต่อไป
ด้านงบประมาณ ระบบการจัดภาระงานสอนและงบประมาณ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นจำนวนของงบประมาณที่ต้องใช้ในการรองรับ การจ่ายค่าตอบแทนเกินภาระงานสอนเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 743,200 บาท อย่างไรก็ตาม งบประมาณดังกล่าวจะถูกปรับอีกครั้งหลังการสอบกลางภาค เนื่องจากมีจำนวนนักศึกษาลงทะเบียนไม่เป็นไปแนวปฏิบัติที่คณะกำหนดไว้
ความสามารถในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ หรือต่อยอดเพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานอื่นไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง ( Impact )
ข้อมูลในระบบการจัดภาระงานสอนและงบประมาณ จะมีรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รหัสวิชา-ชื่อวิชา ชื่ออาจารย์ผู้สอนในแต่ละกลุ่ม ประเภทการสอบ (บรรยาย/ปฏิบัติ) จำนวนชั่วโมงสอนจริง จำนวนชั่วโมงนับ จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไป คำนวณภาระงานสอนของอาจารย์เต็มเวลาหรือค่า TFET ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้เป็นตัวกำหนดกรอบอัตรากำลังต่อไป
Q & A
Made with